OSI Model (Open Systems Interconnection model)
เป็นลำดับชั้นในการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ โดยแต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน OSI Model ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ หรือ ซอร์ฟแวร์ ใช้เป็นโครงสร้างในการสร้างอุปกรณ์ เพื่อให้อุปกรณ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ถึงแม้อุปกรณ์จะมาจากผู้ผลิตคนละรายองค์ประกอบของ OSI MedelOSI Model มีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ชั้น ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยผู้เขียนจะอธิบายจากชึ้น บนลงมาเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น (หรือป่าวว >,,<)
Application Layer
เป็นชั้นที่สามารถติดต่อกับ User ได้ ก็จำพวกโปรแกรมต่างๆ เช่น User ทำการส่งข้อมูลผ่านโปรแกรม Web Browser ข้อมูลก็จะทำการ Encryption data โดยการใส่ Header และทำการส่งไปให้ชั้น Presentation Layer ต่อไปPresentation Layer
ชั้นนี้จะเป็นชั้นที่ทำการจัดรูปแบบของการนำเสนอข้อมูลระหว่างการสื่อสารให้เป็นไปตามที่ต้องการ เช่น ASCII, Text, Binary, JPEG และยังรวมถึงการเข้ารหัส – ถอดรหัสด้วยSession Layer
เป็นชั้นที่คอยควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปถึงปลายทางและยังคอยควบคุมช่องทางการรับ – ส่งข้อมูล (Socket) ในกรณีที่มีหลายๆ Process ที่ต้องรับส่งข้อมูลพร้อมๆ กันเครื่องเดียวTransport Layer
เป็นชั้นที่คอยทำหน้าที่ในการแบ่งข้อมูลให้พอเหมาะกับการจัดส่งข้อมูลและยังคอยทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก Layer ล่างรวมถึงทำการแก้ไขความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล เนื่องจากความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการส่งข้อมูลNetwork Layer
เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูลจากต้นทางไปถึงปลายทางโดยจะหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูล โดยใช้หมายเลข IP Address ในการอ้างอิงจุดหมายปลายทางDatalink Layer
เป็นชั้นจัดเตรียมข้อมูลเชื่อมต่อให้กับ Network Layer โดยจะแบ่ง data ที่ได้รับมาออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เรียกว่า ดาต้าเฟรม (Data Frame) หลังจากนั้นจะทำการกำหนดช่องทางการส่งข้อมูลให้ถูกต้อง เช่น Ethernet, Token Ring หรือ FDDI เป็นต้น โดยจะส่ง data ไปให้กับผู้รับทีละเฟรมตั้งแต่เฟรมแรกไปจนถึงเฟรมสุดท้าย เมื่อครบแล้วกระบวนการรับส่ง data ก็จะเสร็จสมบูรณ์ โดยมี MAC Address เป็นเลขหมายอ้างอิงในการรับส่งข้อมูล ซึ่ง MAC Address นั้นจะติดมากับอุปกรณ์ Network ซึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์จะเป็นคนกำหนดมาให้Physical Layer
เป็นชั้นล่างสุดที่เกี่ยวข้อโดยตรงกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างเครื่อง computer ในระดับบิต (bit) ให้กับ Data Link Layer นอกจากนั้นยังรับผิดชอบรายละเอียดการส่งข้อมูลในด้าน hardware จริง เช่น การควบคุม LAN Card การส่งสัญญานผ่านสายสัญญาณแบบต่างๆ เป็นต้นจากรูปจะเห็นได้ว่าเมื่อทำการส่งข้อมูล ข้อมูลก็จะถูกส่งมาจากชึ้น Application layer ลงมาเรื่อยๆ จนถึงชึ้น Physical layer และชั้น Physical Layer จะเป็นชั้นที่สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ปลายทางได้ (การติดต่อสือสารของแต่ละLayer สามารถติดต่อกันได้เฉพาะ Layer ที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น ไม่สามารถติดต่อกันข้าม Layer ได้)
เมื่อมีการส่งข้อมูลของแต่ละLayer จะมีการ Encryption data โดยการใส่ Header ของแต่ละ Layer ไว้และเมื่อฝั่งที่รับ ได้รับข้อมูลที่ส่งไป แต่ละชั้นก็จะทำการถอด Header ของชั้นตัวเอง และทำการส่งขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงชั้น Application Layer เพื่อให้ฝั่งผู้รับ ได้รับข้อมูลตามที่ฝั่งผู้ส่ง ส่งให้
ตัวอย่างโปรโตคอลในแต่ละ Layer
นี่เป็นตัวอย่างโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันไป โดยโปรโตคอลนั้นมีหลากหลายมากๆ แต่ผมจะอธิบายแต่ละโปรโตคอลในบทความต่อๆไปนะครับ
ข้อดีของแบ่ง 7 ชั้น
1. ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ แต่ละรายสามารถพัฒนาอุปกรณ์หรือซอร์ฟแวร์ต่างๆ ตามที่ตัวเองถนัดได้2. ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ หรือ ซอร์ฟแวร์ต่างๆ ที่ผลิตมาจากผู้ผลิตคนละราย สามารถทำงานร่วมกันได้
3. ง่ายต่อการพัฒนาโปรโตคอลและการเรียนรู้
สุดท้าย...นี้เป็นพื้นฐานของผู้ที่ต้องศึกษาด้าน Network นะครับ อาจจะไม่เข้าใจในตอนแรกหรืออาจจะไม่เข้าใจเพราะผมอธิบายได้ไม่ดีก็ลองๆ ศึกษาจากบทความที่ผู้อื่นเขียนดูหลายๆ บทความนะครับอาจจะเข้าใจมากขึ้น.....ขอบคุณครับ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น